บริษัท ส.เจริญ วิศวกรรมเครื่องกล จำกัด

เป็นบริษัทที่ได้ก่อตั้งขึ้นโดยวิศวกรที่มีความชำนาญและเชี่ยว
ชาญในการออกแบบและติดตั้งงานระบบในอาคารและโรงงาน
อุตสาหกรรมมากกว่า 15 ปี เช่น ระบบปรับอากาศ ระบบ
สุขาภิบาล ระบบป้องกันเพลิงใหม้ ระบบประปา ห้องปลอดเชื้อโรคและระบบอื่นๆ

และตามที่มีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้อาคาร 9 ประเภท
ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32ทวิแห่งพระราช
บัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราช
บัญญัติควบคุมอาคาร ( ฉบับที่3 ) พ.ศ.2543นั้น ทางบริษัทฯเห็นความสำคัญของความปลอดภัยในชีวิตของผู้ใช้
อาคารทุกท่าน จึงได้ดำเนินการให้บริการตรวจสอบอาคาร
ในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารประเภทนิติบุคคล โดยเน้นการ
ตรวจสอบและปรับปรุงตามเหมาะสมและจำเป็น และเป็นไปตาม
ข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันบริษัท ส.เจริญวิศวกรรมเครื่องกลจำกัด ตั้งอยู่ที่ 433 ซ.ลาดพร้าว 96 แขวง/เขตวังทองหลาง กรุงเทพ ฯ 10310 โทร.02-935-3553-4 ,แฟกส์.02-935-3551

นโยบายของเรา

มุ่งมั่นให้ปลอดภัย

เต็มใจให้บริการ

คืองานของเรา

แบบฟอร์มใหม่ ประกอบการนำส่งรายงานตรวจสอบอาคารประจำปี 2551

นำ ส่งรายงานตรวจสอบอาคารประจำปี ๒๕๕๑ ให้กับ กทม ในปีนี้ต้องกรอกแบบฟอร์มใหม่เพิ่มเติม และต้องนำส่งหลักฐานประกอบ จำนวนชุดของรายงาน และจำนวนชุดของรายงานในรูปดิจิตอล
1 คำขอใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร


2.ขั้นตอนการเตรียมเอกสาร

3.หนังสือมอบอำนาจการตรวจสอบอาคาร
4.หนังสือรับรองของผู้ตรวจสอบอาคาร

แนวทางการตรวจสอบระบบปรับอากาศ

ผู้ตรวจสอบจะทำ การตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

  1. สภาพทั่วไปของห้องเครื่อง
  2. สภาพของอุปกรณ์และระบบควบคุม
  3. มีลิ้นป้องกันเพลิงไหม้ลุกลามที่ผนังหรือพื้นทนไฟ
  4. สภาพทั่วไปของหอผึ่งน้ำ( Cooling Tower )
  5. สภาพน้ำและการรั่วไหล
  6. เครื่องทำน้ำเย็น
  7. สภาพเครื่องส่งลมเย็น ( Air Handling Unit )
  8. เครื่องสูบน้ำเย็นและ/หรือน้ำระบายความร้อน
  9. การนำอากาศภายนอกเข้ามา
  10. อื่นๆ (ถ้ามี )

แนวทางการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

  1. แรงสูง ( ส่วนผู้ใช้ไฟ )
  • สายอากาศ
    • สภาพเสาและอุปกรณ์ประกอบหัวเสา
    • การพาดสาย ( สภาพสาย ระยะหย่อนยาน )
    • ระยะห่างของเสากับอาคาร สิ่งก่อสร้าง หรือต้นไม้
    • การติดตั้งล่อฟ้า
    • การต่อลงดิน
  • สายใต้ดิน
    • สภาพสายส่วนที่่มองเห็นได้
    • จุดต่อ , ขั้วสาย
    • การติดตั้งล่อฟ้า
    • การต่อลงดิน
2. หม้อแปลง
  • การติดตั้ง
    • นั่งร้าน
    • แบบแขวน
    • ลานหม้อแปลง
    • ในห้องหม้อแปลง
  • การต่อสายแรงต่ำออกจากหม้อแปลง
  • การติดตั้งล่อฟ้าแรงสูง
  • การติดตั้งดรอปเอาท์ฟิวส์ คัตเอาท์
  • การประกอบสายดินกับตัวถังหม้อแปลงและล่อฟ้าแรงสูง
  • การต่อสายนิวทรัลลงดิน
  • สภาพภายนอกหม้อแปลง
3. แรงต่ำภายนอกอาคาร
  • เสา สายอากาศ และลูกถ้วย
  • การติดตั้งล่อฟ้าและแรงต่ำ
  • แผงสวิทซ์ต่างๆ (ภายนอกอาคาร )
  • การต่อลงดิน
  • สภาพจุดต่อสาย
  • การประกอบสายดินและสายนิวทรัล
4. วงจรเมน ( Main Circuit )
  • สายเข้าเมนสวิตซ์ ( สายจากหม้อแปลง )
    • ชนิด
    • ขนาด
    • ลักษณะการเดินสาย
      • รางเคเบิลแบบบันได ( Cable Ladder )
      • ท่อร้อยสาย ( Conduit )
      • รางเดินสาย ( Wire Way )
      • รางเคเบิล ( Cable Tray )
      • ลูกถ้วยราวยึดสาย ( Rack )
      • อื่นๆ
  • แผงสวิตซ์เมน
    • เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ , ฟิวส์ หรือ สวิตซ์
    • เซอร์กิตเบรกเกอร์
    • การต่อลงดิน
    • การประกอบสายดินและสายนิวทรัล
    • สภาพจุดต่อของสาย
    • อุณหภูมิของอุปกรณ์และขั้วต่อสาย
    • ที่ว่างเพื่อการปฎิบัติงานที่จุดที่ติดตั้งแผงสวิตซ์เมน
    • ป้ายชื่อและแผนภาพเส้นเดียวของแผงสวิตซ์เมน
    • อื่นๆ..........
  • สายป้อน
  • แผงสวิตซ์ย่อยต่างๆ
  • วงจรย่อย
5. ระบบไฟฟ้าสำหรับระบบประกอบต่างๆ ดังนี้
    1. ระบบไฟฟ้าของระบบลิฟต์
    2. ระบบไฟฟ้าของระบบบันไดเลื่อน
    3. ระบบไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ
    4. ระบบไฟฟ้าของระบบระบายอากาศ
    5. ระบบไฟฟ้าของระบบบำบัดน้ำเสีย
    6. ระบบไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำ
    7. ระบบไฟฟ้าของพัดลมระบายควัน
    8. ระบบไฟฟ้าของระบบช่วยชีวิต
    9. ระบบไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณอันตราย
    10. ระบบไฟฟ้าของระบบแจ้งเหตุเพลิงใหม้
    11. ความเข้มของแสงสว่างแต่ละพื้นที่

แนวทางการตรวจสอบระบบบันไดเลื่อน

ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
  1. รายงานการตรวจสอบและมีใบรับรองการตรวจสอบ
  2. สภาพทั่วไปของบันไดเลื่อน
  3. สวิตซ์หยุดฉุกเฉิน
  4. ป้ายหรืออุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ
  5. สายพานที่ราวจับบันได
  6. อื่นๆ ( ถ้ามี ).........

แนวทางการตรวจสอบระบบลิฟต์

ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบด้วยสายตา พร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ โดยลักษณะการตรวจสอบจะครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้
  1. ตรวจสอบประวัติการทดสอบและการตรวจบำรุงรักษา
  • สำเนารายงานการตรวจสอบบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา
  • สำเนารายงานการทดสอบประจำปี หรือตามกำหนดเวลา
  • รายงานการตรวจสอบลิฟต์ และมีใบรับรองการตรวจสอบ
2. สภาพห้องเครื่อง
  • การระบายอากาศในห้อง
  • สภาพอันตรายที่อาจเกิดได้
3. อุปกรณ์ในห้องเครื่องขณะไม่จ่ายกำลังไฟฟ้า
  • ความมั่นคงของแท่นรองรับเครื่องลิฟต์และลักษณะการวางตำแหน่งอุปกรณ์
  • สภาพรอก
  • สภาพสลิงแขวน
  • สภาพชุดควบคุมความเร็ว
  • สภาพสลิงของชุดควบคุมความเร็ว
4. อุปกรณ์ในห้องเครื่อง ขณะจ่ายกำลังไฟฟ้า
  • มอเตอร์ สภาพการหมุนขับเฟือง
  • สภาพเชือกลวดแขวนขณะทำงาน
  • สภาพการควบคุมความเร็วขณะเคลื่อนที่
  • สภาพเบรกขณะทำงาน (เรียบไม่เรียบ )
  • สภาพตู้คอนโทรล มีการป้องกันที่ดี
  • สวิตซ์ฉุกเฉินในตัวลิฟต์
5. การตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบลิฟต์
  • ปะกับราง
  • ชุดนำร่อง
6. การป้องกันการกระแทก ( BUFFER )
  • ตัวลิฟต์ แบบ สปริง หรือ แบบน้ำมัน
  • น้ำหนักถ่วง แบบสปริง หรือ แบบน้ำมัน
7. การตรวจสอบประตูลิฟต์
8. การตรวจสอบลิฟต์
  • การระบายอากาศในตัวลิฟต์
  • ระบบสื่อสารกับภายนอก ( Two Way )
9. การตรวจสอบภายนอกปล่องลิฟต์
  • สภาพประตูชานพัก
  • ช่องฉุกเฉินเข้าปล่องลิฟต์
  • อันตรายจากการไหลของน้ำเข้าปล่องลิฟต์
10. การตรวจสอบการใช้งาน
  • สียงเรียก / กระดิ่งขณะช่วยเหลือ
  • ไฟฉุกเฉิน
  • ป้ายคำอธิบายการใช้ การขอความช่วยเหลือ ข้อห้ามการใช้ และการให้ความช่วยเหลือ
11. อื่นๆ ถ้ามี

แนวทางการตรวจสอบระบบความมั่นคงแข็งแรง


ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอาคาร

  • เจ้าของอาคาร หรือ ผู้ดูแลอาคาร
  • สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร การใช้งาน เริ่มก่อสร้าง ระยะเวลาในการก่อสร้าง ใบอนุญาต
  • แบบแปลนอาคาร
  • ประวัติการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ต่อเติม
แนวทางการตรวจสอบการต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงอาคาร
  • การเปลี่ยนแปลงวัสดุสถาปัตยกรรม
  • ความไม่ต่อเนื่องของวัสดุสถาปัตยกรรม เช่น สี, ชนิด, แบบ
  • การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือวัสดุของงานระบบ
  • ความไม่ต่อเนื่องของชนิดหรือวัสดุของงานระบบ
แนวทางการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคารรูปแสดงการเปลี่ยนใช้งานจากสำนักงานเป็นห้องเก็บเอกสาร
  • การเสียรูปทรงของโครงสร้าง
  • การแอ่นตัวมากผิดปกติ
  • การขาดหลุดจากกันของ ท่อ , งานระบบ , หรือสายไฟ เป็นต้น
แนวทางการตรวจสอบการเปลี่ยนสภาพการใช้งาน
  • การเปลี่ยนแปลงวัสดุสถาปัตยกรรมที่ไม่ต่อเนื่องไม่สมเหตุผล
  • วัสดุสถาปัตยกรรมไม่ต่อเนื่อง หรือ ไม่สมเหตุผล
  • งานระบบส่วนเกินหรือถูกปิดการใช้งาน เช่นท่อน้ำปิดการใช้ สายไฟส่วนเกินไม่ได้ใช้
  • งานระบบที่ถูกเพิ่มเข้าไป เช่น สายไฟ ท่อน้ำ ท่อระบายน้ำที่เพิ่มเข้าไปมีลักษณะ หรือ ชนิด หรือ คุณภาพที่แตกต่างจากของเดิม
  • พื้นโครงสร้างต่างระดับโดยไม่สมเหตุผล
แนวทางการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
  • วัสดุสถาปัตยกรรมไม่ต่อเนื่อง หรือ ไม่สมเหตุผล
  • พื้นโครงสร้างต่างระดับ
  • พื้นโครงสร้างเหล็ก หรือ ไม้ที่ถูกเพิ่มขึ้นหรือต่อเติม
แนวทางการตรวจสอบการชำรุดสึกหรอของอาคาร
  • การสึกกร่อนของผิวคอนกรีต
  • การแตกหลุดของผิวคอนกรีต
  • รอยน้ำไหลรั่วซึมผ่านโครงสร้าง
  • การรั่วซึมของท่องานระบบอันอาจทำให้โครงสร้างชำรุดหรือกร่อน
  • รอยสนิมเหล็ก
  • การแตกร้าวจนเห็นเหล็กเสริม
  • การหลุดร่อนของวัสดุหุ้มกันไฟของโครงสร้างเหล็ก
  • การหลุดร่วงของวัสดุปิดผิวภายนอกอาคาร เช่นกระเบื้อง, หินแกรนิต, สี, กระจก ฯลฯ
  • การแอ่นตัวผิดปกติ
  • การเสียรูปของโครงสร้าง
  • อุปกรณ์จับยึดของท่อหรือสายไฟหลุดห้อย
แนวทางการตรวจสอบการวิบัติของโครงสร้างอาคาร
  • รอยร้าวของโครงสร้าง เช่น พื้น คาน เสา ผนังคสล.
  • รอยร้าวของส่วนไม่ใช่โครงสร้าง เช่น ผนังก่อ ฝ้าเพดาน
  • การแตกของกระจกหรือกระเบื้องติดผนัง
  • การแอ่นตัวของพื้นและคาน หรือโครงหลังคา
  • การเสียรูป การเอียงตัวของเสาหรือผนัง
แนวทางการตรวจสอบการทรุดตัวของฐานราก
  • การเอียงตัวของพื้น, เสา, หรือผนัง
  • การแตกร้าวของผนังคสล.
  • การแตกร้าวของผนังก่อ
  • การแตกของกระจกหรือกระเบื้องติดผนัง

ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

ได้แก่
  1. บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
  2. เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
  3. ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
  4. ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
  5. ระบบลิฟต์ดับเพลิง
  6. ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
  7. ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
  8. ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
  9. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
  10. ระบบป้องกันฟ้าผ่า
  11. แบบแปลนอาคารเพื่อการดับเพลิง

ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

ได้แก่
  1. ระบบประปา
  2. ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
  3. ระบบระบายน้ำฝน
  4. ระบบจัดการมูลฝอย
  5. ระบบระบายอากาศ
  6. ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

ระบบบริการและอำนวยความสะดวก

ได้แก่
  1. ระบบลิฟต์
  2. ระบบบันไดเลื่อน
  3. ระบบไฟฟ้า
  4. ระบบปรับอากาศ